สายตาสั้น: เรื่องน่ารู้ที่อยากให้คุณรู้จัก
จริงๆ แล้วคำว่าสายตาสั้นจะใช้กับคนที่มองไกลไม่ชัด ซึ่งสามารถแก้ด้วยเลนส์เว้าหรือเลนส์สายตา - ส่วนถ้าแก้ด้วยเลนส์นูน หรือเลนส์สายตา + จะเรียกว่าสายตายาว วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันนะครับ
ทำความเข้าใจภาวะสายตาสั้น
Myopia คือศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้อธิบายอาการสายตาสั้น การที่มองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ค่อยชัดนั้น เกิดจากดวงตาของคนสายตาสั้นจะได้รับแสงที่หักเหไปจึงทำให้ภาพของวัตถุในระยะไกลนั้นไม่ชัดเจน
สาเหตุสายตาสั้น มักมาจากดวงตาที่มีขนาดลูกตายาวมากเกินไป ทำให้ระยะทางจากกระจกตาถึงจอตายาวกว่าปกติ (ด้าน "หน้า" และ "หลัง" ของดวงตา) ส่งผลให้กำลังการหักเหแสงของกระจกตาผิดปกติ เมื่อพยายามเพ่งมองวัตถุในระยะไกลเกินไป จึงเห็นเป็นภาพเบลอ ซึ่งทางการแพทย์สามารถอธิบายระดับของความผิดปกติของสายตาได้จากหน่วยวัดที่เรียกว่า ไดออปเตอร์ (D)
ระดับสายตาสั้น จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ระดับอย่างง่ายๆ คือ
- สายตาสั้นระดับต่ำ จะวัดได้อยู่ในช่วงระหว่าง -0.25 ถึง -3.00 D
- สายตาสั้นระดับสูง คือระดับความสั้นของสายตาที่มีค่ามากกว่า -6.00 D ซึ่งผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นระดับสูงอาจมีความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนทางสายตาอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน จอประสาทตาหลุดลอก
ความสัมพันธ์ระหว่างสายตาสั้นกับกรรมพันธุ์
สายตาสั้นสามารถส่งต่อทางกรรมพันธุ์ได้ แต่คนที่เป็นสายตาสั้นที่ส่งต่อทางกรรมพันธุ์นั้นส่วนใหญ่จะมีสายตาที่สั้นมากๆ เป็นตั้งแต่กำเนิด สายตาจะสั้นขึ้นเร็วมากและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสายตามากถึงระดับ 10 D ขึ้นไป นั่นเอง
การแก้ไขปัญหาสายตาสั้น
ปัจจุบันสามารถแก้ไขให้มองชัดขึ้นได้ด้วยหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีนั้นก็จะมีข้อดีข้อเสียปะปนกันไปมาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีไหนบ้างและมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
- แว่นตา เป็นที่นิยมที่สุดเพราะสามารถทำได้ง่าย มีให้เลือกตามความต้องการ ไม่ค่อยส่งผลเสียกับตาถ้าทำกับร้านที่น่าเชื่อถือ แต่ข้อเสียคือบางคนรู้สึกว่าไม่กระฉับกระเฉง เล่นกีฬาต้องคอยระวังมากขึ้น
- คอนแทคเลนส์ เป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่ายในปัจจุบัน ส่งผลเสียกับดวงตามากพอสมควรถ้าใส่นานเกิน 8 ชม.หรือตามที่กำหนด และเสี่ยงตาติดเชื้อถ้ารักษาความสะอาดไม่ดี
- การทำเรสิก สามารถทำให้กลับมามองชัดได้โดยไม่ต้องใส่แว่น แต่ถ้าสายตาเปลี่ยน จะทำซ้ำได้ยากต้องหาแว่นตามาช่วยในการมองเห็น หลังทำเรสิกอาจส่งผลให้เห็นแสงฟุ้งกระจาย และมีอาการตาแห้งในบางคน
- การทำ Ortho K คือ การปรับรูปกระจกตาเฉพาะทาง เพื่อทำให้มองเห็นชัด ต้องทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น ข้อเสียคือในช่วงแรกๆ ของการปรับรูปกระจกตาต้องทำตามวิธีอย่างเคร่งครัด
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการใส่แว่น
การใส่แว่นตานั้นสามารถแก้ปัญหาทางสายตาได้ แต่ก็ยังมีหลายๆ คนเข้าใจว่าการใส่แว่นตาส่งผลเสียดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าส่วนใหญ่มีเรื่องอะไรบ้างที่แว่นตาถูกเข้าใจผิด
- ถ้าใส่แว่นทั้งวัน ทุกวันจะทำให้สายตาสั้นลง - ไม่จริงเลย เพราะสาเหตุที่ทำให้สายตาเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการใช้สายตาอย่างหนักหรือเพ่งมากกว่าปกติ
- แว่นสายตาอันเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต - จริงๆสายตาของคนเราจะปรับเปลี่ยนไปตามการใช้งาน ดังนั้นควรหมั่นเช็คสายตาสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้งเพื่อให้ได้สายตาที่เหมาะสม
- นอนตะแคงดูทีวี จะทำให้สายตาเอียง - ไม่จริง เพราะสายตาเอียงเกิดจากกระจกตามีความโค้งไม่เท่ากันหรือมีรูปร่างผิดปกติ มักเป็นตั้งแต่เกิดหรือเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้มองเห็นภาพเบลอ การทำอะไรเอียงๆ ไม่ได้ส่งผลทำให้รูปร่างกระจกตาเปลี่ยนไป
- สายตาสั้นจะกลับมาสายตาปกติตอนแก่ - ไม่จริง เพราะ ตอนวัยรุ่นถ้ามองไกลไม่ชัดแก่ไปจะมองไกลไม่ชัดเหมือนเดิม เพราะ สายตาสั้นเดิมจะยังอยู่ พออายุมากขึ้นก็ทำให้มองใกล้ไม่ชัดเพิ่มขึ้นมาด้วยจึงส่งผลทำให้มองไม่ชัดทั้งระยะไกลและใกล้นั่นเอง
ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ
- Eyezen คือเลนส์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาค่าสายตา, ปกป้องดวงตาจากแสงสีน้ำเงินที่เป็นอันตรายต่อดวงตาอีกทั้งยังช่วยลดความล้าของดวงตาระหว่างวัน ออกแบบมาเพื่อคนในยุคดิจิทัล
- Crizal คือ เลนส์มัลติโค้ท หรือการเคลือบผิวเลนส์เพื่อลดแสงสะท้อนทำให้ได้ความคมชัดสูงสุด มีให้เลือกตามความต้องการของผู้ใช้ รวมไปถึงสามารถป้องกันแสงสีน้ำเงินอมม่วงจากจอ อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ ได้อีกด้วย
เป็นไงกันบ้างครับ สำหรับความรู้เรื่องสายตาสั้นในวันนี้ หวังว่าเพื่อนๆ คงมีความเข้าใจอย่างถูกต้องกันมากขึ้น จำไว้เลยว่าการแก้ปัญหาสายตาสั้นที่ง่ายและมีคุณภาพที่สุด คือการสวมใส่แว่นที่มีเลนส์ตรงกับสายตาของเรา ก่อนจากกัน
ขอให้ทุกคนมีสุขภาพตาที่ดี ด้วยความปรารถนาดีจากเอสซีลอร์
กังวลอยู่หรือเปล่าว่าคุณหรือคนใกล้ตัวอาจจะสายตาสั้น และยังไม่ได้รับการแก้ไข ?
ค้นหาร้านแว่นตา เพื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาและตรวจวัดสายตา